ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558 (ASEAN 2015)
เตรียมพร้อมด้านการศึกษาของไทย ให้พร้อมกับการแข่งขันในยุคประชาคมอาเซียนปี 2558
นักเรียน ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ รวมไปถึงสถาบันการศึกษาต่างๆ จะได้รับผลกระทบและจะต้องเตรียมพร้อมรับมือ
ในปี 2558 หรืออีก 4 ปีข้างหน้านี้ ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) การเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้นในหลายๆ ด้าน อาทิ การเปิดเขตแดนการค้าเสรี การบริการ การลงทุน แรงงานระหว่างประเทศเป็นต้น รวมไปถึงด้านการศึกษาที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างแน่นอน สมาชิกในกลุ่มมี 10 ประเทศได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนิเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ไทย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม
ในปี 2558 หรืออีก 4 ปีข้างหน้านี้ ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) การเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้นในหลายๆ ด้าน อาทิ การเปิดเขตแดนการค้าเสรี การบริการ การลงทุน แรงงานระหว่างประเทศเป็นต้น รวมไปถึงด้านการศึกษาที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างแน่นอน สมาชิกในกลุ่มมี 10 ประเทศได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนิเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ไทย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม
วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งอาเซียน
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยีและการบริหารส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาคส่งเสริมความ ร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงินรวงข้าว 10 ต้น หมายถึงประเทศสมาชิก 10 ประเทศ สีเหลือง หมายถึงความเจริญรุ่งเรือง สีแดง หมายถึงความกล้าหาญและการมีพลวัติ สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์ และสีน้ำเงินหมายถึงสันติภาพและความมั่นคง
การเตรียมพร้อมด้านการศึกษาของไทย เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เคยบรรยาย พิเศษเรื่อง "การเตรียมพร้อมด้านการศึกษาของไทย เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ปี พ.ศ.2558" ไว้ว่า ประเทศไทยเป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง ภายใต้ยุทธศาสตร์วิสัยทัศน์เดียว เอกลักษณ์เดียว และประชาคมเดียว เพื่อความ ภายใต้การก่อตั้งนี้จะต้องยึดหลักสำคัญ คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมของอาเซียน การศึกษานั้นจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่นๆมีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุกๆ ด้านปี พ.ศ. 2558" การเตรียมความพร้อมของการศึกษาไทย มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้ 1. การสร้างประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ให้ประเทศไทยเป็น Education Hub มีการเตรียมความพร้อมในด้านกรอบความคิด คือ แผนการศึกษาแห่งชาติ ที่จะมุ่งสร้างความตระหนักรู้ของคนไทยในการจัดการศึกษาเพื่อสร้างคนไทยให้ เป็นคนของประชาคมอาเซียน พัฒนาสมรรถนะให้พร้อมจะอยู่ร่วมกันและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้าน การศึกษา โดยให้มีการร่วมมือกันใน ๓ ด้านคือ ด้านพัฒนาคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริการและจัดการศึกษา 2. ขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษาด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน มีการเพิ่มครูที่จบการศึกษาด้านภาษาอังกฤษเข้าไปในทุกระดับชั้นการศึกษา เพื่อให้นักเรียนไทยสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับภาคเอกชนในการรับอาสาสมัครเข้ามาสอนภาษาต่าง ประเทศ รวมถึงวัฒนธรรมของประเทศต่างๆเพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจกันของ ประเทศในประชาคม ส่วนด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษานั้น จะพัฒนาตามหลัก 3N ได้แก่
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น