บันทึกอาเซียน กับ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล
วันพุธที่ 17 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:45 น.
บันทึกอาเซียน : นิวเคลียร์อาเซียน : แถลงการณ์ร่วมจากที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 46 ณ ประเทศบรูไนดารุสซาลาม, 29-30 มิถุนายน 2013
ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 46 ที่บันดาเสรีเบกาวัน สรุปผลการดำเนินงานสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community) เป็น 11 เรื่อง สองเรื่องแรกที่กล่าวถึง ซึ่งอาจหมายถึงความเป็นเรื่องสำคัญก่อนเรื่องอื่นใด คือเรื่องสนธิสัญญาสองฉบับ ที่อาเซียนเพียรเฝ้าดูแลเพื่อให้การสร้างประชาคมการเมืองและความความมั่นคงอาเซียนมีรากฐานที่มั่นคง จะได้เป็นฐานในการสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไปให้ยั่งยืน สนธิสัญญาสองฉบับดังกล่าวนั้นคือ:
1. สนธิสัญญาพันธไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia - TAC): เพื่อเป็นฐานในการรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค อาเซียนยืนยันยึดมั่นในสนธิสัญญา TAC ให้เป็นแนวทางหลักในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสมาชิกและระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ร่วมลงนามรับรองเป็นภาคีด้วย จนปัจจุบันอาเซียนปรับแก้เพิ่มเติมพิธีสาร (Protocol)ที่เกี่ยวข้องกับสนธิสัญญา TAC นี้เป็นครั้งที่สามแล้ว ก่อนหน้านี้ ณ ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ที่กรุงพนมเปญ ปี 2012 อังกฤษ, สหภาพยุโรป, และ บราซิล ก็เข้าร่วมลงนามเป็นภาคีใน TAC ด้วย และที่บรูไนดารุสซาลามเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2013 ประเทศนอร์เวย์ก็ร่วมลงนามเป็นภาคี TAC เป็นรายล่าสุด จากการที่ประเทศที่มิใช่สมาชิกอาเซียนสนใจเข้าร่วมลงนามใน TAC อย่างมากมายหลายประเทศนั้น อาเซียนจึงได้ให้คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน (ASEAN Committee of Permanent Representatives) ทบทวนแนวปฏิบัติใหม่ในการที่ประเทศต่าง ๆ จะเข้าร่วมภาคี TAC ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และที่ประชุมก็รับรองแนวทางใหม่ที่เสนอมาจากคณะกรรมการฯ
สนธิสัญญาพันธไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) ลงนามโดยสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียน 5 ประเทศ คือประเทศไทย (มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช), อินโดนีเซีย (Suharto), มาเลเซีย (Datuk Hussein Onn), ฟิลิปปินส์ (Ferdinand Marcos), และ สิงคโปร์ (Lee Kuan Yew) เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1976 รัฐสมาชิอาเซียนอื่นก็ร่วมลงนามด้วยในเวลาที่ต่อมาเมื่อเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน จนครบ 10 ประเทศ เมื่ออาเซียนได้รับความสนใจจากประเทศนอกภูมิภาคมากขึ้น ประเทศนอกภูมิภาคจึงขอเข้าร่วมเป็นภาคี TAC ด้วย จึงได้มีการปรับแก้แนวทางการรับประเทศนอกอาเซียนให้เข้ามาร่วมลงนามเป็นภาคี TAC ได้ แนวทาง “พิธีสาร” หรือ Protocol ดังว่านี้ได้รับการปรับแก้มาแล้วรวมสามครั้ง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม1987, 25 กรกฎาคม 1998, และ 30 มิถุนายน 2013. อินเดีย และ จีน เป็นสองประเทศแรกนอกอาเซียนที่เข้าร่วมลงนามในสนธิสัญญา TAC ณ ที่ประชุมสุดอยดอาเซียน ที่บาหลี ปี 2003 สหรัฐอเมริการ่วมลงนามในปี 2009 ถึงปัจจุบันมี 30 ประเทศ และ 1 องค์การความมือระดับภูมิภาค (Regional Organization) เข้าร่วมลงนามในสนธิสัญญา TAC แล้ว ดังนี้:
Indonesia (24 February 1976), Malaysia (24 February 1976), Philippines (24 February 1976),Singapore (24 February 1976), Thailand (24 February 1976), Brunei (7 January 1984), Papua New Guinea (5 July 1989), Lao (29 June 1992), Vietnam (22 July 1992), Cambodia (23 January 1995), Myanmar (27 July 1995), China (8 October 2003), India (8 October 2003), Japan (2 July 2004), Pakistan (2 July 2004), Republic of Korea (27 November 2004), Russia (29 November 2004), New Zealand (25 July 2005), Mongolia (28 July 2005), Australia (10 December 2005), France (20 July 2006), East Timor (13 January 2007), Bangladesh (1 August 2007), Sri Lanka (1 August 2007), Democratic Republic of Korea (24 July 2008), USA (23 July 2009), European Union (12 July 2012), , United Kingdom (12 July 2012), Turkey (23 July 2012), Brazil (17 November 2012), Norway (1 July 2013).
2. สนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone Treaty - SEANWFZ: สนธิสัญญา SEANWFZ เป็นเรื่องของรัฐสมาชิกอาเซียนโดยตรง ประเทศที่ลงนามรับรองและร่วมเป็นภาคีคือรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศเท่านั้น สนธิสัญญา SEANWFZ ลงนามที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 1995 สมัยนายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “Bangkok Treaty” หรือ “สนธิสัญญากรุงเทพฯ” มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 28 มีนาคม 1997
สนธิสัญญา SEANWFZ ฉบับนี้ มีเป้าประสงค์จะให้เอเชียตะวันออกเฉียงทั้งหมดปลอดจากอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธทำลายร้ายแรงทั้งหลาย หากแต่ว่าจะไม่มีทางบรรลุเป้าประสงค์ได้ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือเห็นชอบหรือร่วมลงนามเป็นภาคีด้วยจากประเทศอภิมหาอำนาจผู้มีอาวุธนิวเคลียร์ คือ จีน, สหรัฐฯ, ฝรั่งเสศ, รัสเซีย, และ อังกฤษ ซึ่งทั้งห้าประเทศนี้เป็นภาคีในสนธิสัญญาไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on the Non-Proliferation of Nuclear Weapons - NPT) อีกทั้งยังเป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติด้วย ประเทศมหาอำนาจนิวเคลียร์เหล่านี้ยังไม่มีประเทศใดเลยที่ร่วมลงนามรับรองพิธีสาร (Protocol) ของอาเซียนตาม“สนธิสัญญากรุงเทพฯ” ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศที่บรูไนแถลงเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2013 ว่าสนธิสัญญา SEANWFZ มีความสำคัญยิ่งยวด เพราะทั้งสนธิสัญญานี้และกฎบัตรอาเซียนต้องการให้อาเซียนและทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปลอดจากภัยร้ายแรงจากอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธพลานุภาพทำรายร้ายแรงทั้งมวล (Weapons of Mass Destruction - WMD) แต่อาเซียนมิใช่ฝ่ายที่มีอาวุธนิวเคลียร์จึงไม่สามารถจะสร้างเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ด้วยตนเองได้ อาเซียนจำต้องอาศัยคำมั่นสัญญาจากประเทศผู้มีอาวุธนิวเคลียร์เป็นสำคัญ และเมื่อฝ่ายผู้มีอาวุธนิวเคลียร์ยังไม่สนใจจะร่วมมือด้วยอาเซียนจึงทำได้เพียงตามติดการเจรจากับมหาอำนาจที่เกี่ยวข้องและขอให้เร่งสะสางความขัดข้องต่างๆให้ลุล่วงโดยเร็ว เพื่อการนี้อาเซียนได้จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อทำให้สนธิสัญญากรุงเทพฯ หรือ SEANWFZ มีผลทางปฏิบัติมากกว่าเป็นเพียงแค่เอกสารลายลักษณ์อักษร แผนปฏิบัติที่ว่านี้เรียกว่า Plan of Action to Strengthen the Implementation of SEANWFZ Treaty 2007-2012 และ Plan of Action ฉบับทบทวนแก้ไข (2013-2017) แผนดังกล่าวนี้จะนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติครั้งที่ 68 ในปลายปีนี้ โดยที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนหวังว่าจะผ่านไปได้ด้วยความราบรื่น
ความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ (Nuclear Safety):
เชื่อมโยงกับสนธิสัญญากรุงเทพฯ หรือ SEANWFZ อาเซียนแสดงความห่วงใยเรื่องความปลอดภัยจากนิวเคลียร์ในรูปแบบอื่นด้วย เพื่อความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ในประเด็นอื่นนอกเหนือจากเรื่องอาวุธนิวเคลียร์ อาเซียนมีความร่วมมือระหว่างกันในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและถกเถียงนโยบายนิวเคลียร์กันอย่างโปร่งใส ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับประเด็นนิวเคลียร์ด้านใน จะเป็นด้านสงคราม ซึ่งเป็นเรื่องการเมืองและความมั่นคง หรือด้านพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ซึ่งเป็นเรื่องเศรษฐกิจและวิทยาการ อาเซียนก็ตกลงและย้ำอีกครั้งว่าจะต้องร่วมมือกันอย่างแข็งขันต่อไปให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการเพื่อให้มีการบังคับใช้สนธิสัญญากรุงเทพฯอย่างเข้มแข็งต่อไปข้อมูลจาก
ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 46 ที่บันดาเสรีเบกาวัน สรุปผลการดำเนินงานสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community) เป็น 11 เรื่อง สองเรื่องแรกที่กล่าวถึง ซึ่งอาจหมายถึงความเป็นเรื่องสำคัญก่อนเรื่องอื่นใด คือเรื่องสนธิสัญญาสองฉบับ ที่อาเซียนเพียรเฝ้าดูแลเพื่อให้การสร้างประชาคมการเมืองและความความมั่นคงอาเซียนมีรากฐานที่มั่นคง จะได้เป็นฐานในการสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไปให้ยั่งยืน สนธิสัญญาสองฉบับดังกล่าวนั้นคือ:
1. สนธิสัญญาพันธไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia - TAC): เพื่อเป็นฐานในการรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค อาเซียนยืนยันยึดมั่นในสนธิสัญญา TAC ให้เป็นแนวทางหลักในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสมาชิกและระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ร่วมลงนามรับรองเป็นภาคีด้วย จนปัจจุบันอาเซียนปรับแก้เพิ่มเติมพิธีสาร (Protocol)ที่เกี่ยวข้องกับสนธิสัญญา TAC นี้เป็นครั้งที่สามแล้ว ก่อนหน้านี้ ณ ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ที่กรุงพนมเปญ ปี 2012 อังกฤษ, สหภาพยุโรป, และ บราซิล ก็เข้าร่วมลงนามเป็นภาคีใน TAC ด้วย และที่บรูไนดารุสซาลามเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2013 ประเทศนอร์เวย์ก็ร่วมลงนามเป็นภาคี TAC เป็นรายล่าสุด จากการที่ประเทศที่มิใช่สมาชิกอาเซียนสนใจเข้าร่วมลงนามใน TAC อย่างมากมายหลายประเทศนั้น อาเซียนจึงได้ให้คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน (ASEAN Committee of Permanent Representatives) ทบทวนแนวปฏิบัติใหม่ในการที่ประเทศต่าง ๆ จะเข้าร่วมภาคี TAC ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และที่ประชุมก็รับรองแนวทางใหม่ที่เสนอมาจากคณะกรรมการฯ
สนธิสัญญาพันธไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) ลงนามโดยสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียน 5 ประเทศ คือประเทศไทย (มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช), อินโดนีเซีย (Suharto), มาเลเซีย (Datuk Hussein Onn), ฟิลิปปินส์ (Ferdinand Marcos), และ สิงคโปร์ (Lee Kuan Yew) เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1976 รัฐสมาชิอาเซียนอื่นก็ร่วมลงนามด้วยในเวลาที่ต่อมาเมื่อเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน จนครบ 10 ประเทศ เมื่ออาเซียนได้รับความสนใจจากประเทศนอกภูมิภาคมากขึ้น ประเทศนอกภูมิภาคจึงขอเข้าร่วมเป็นภาคี TAC ด้วย จึงได้มีการปรับแก้แนวทางการรับประเทศนอกอาเซียนให้เข้ามาร่วมลงนามเป็นภาคี TAC ได้ แนวทาง “พิธีสาร” หรือ Protocol ดังว่านี้ได้รับการปรับแก้มาแล้วรวมสามครั้ง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม1987, 25 กรกฎาคม 1998, และ 30 มิถุนายน 2013. อินเดีย และ จีน เป็นสองประเทศแรกนอกอาเซียนที่เข้าร่วมลงนามในสนธิสัญญา TAC ณ ที่ประชุมสุดอยดอาเซียน ที่บาหลี ปี 2003 สหรัฐอเมริการ่วมลงนามในปี 2009 ถึงปัจจุบันมี 30 ประเทศ และ 1 องค์การความมือระดับภูมิภาค (Regional Organization) เข้าร่วมลงนามในสนธิสัญญา TAC แล้ว ดังนี้:
Indonesia (24 February 1976), Malaysia (24 February 1976), Philippines (24 February 1976),Singapore (24 February 1976), Thailand (24 February 1976), Brunei (7 January 1984), Papua New Guinea (5 July 1989), Lao (29 June 1992), Vietnam (22 July 1992), Cambodia (23 January 1995), Myanmar (27 July 1995), China (8 October 2003), India (8 October 2003), Japan (2 July 2004), Pakistan (2 July 2004), Republic of Korea (27 November 2004), Russia (29 November 2004), New Zealand (25 July 2005), Mongolia (28 July 2005), Australia (10 December 2005), France (20 July 2006), East Timor (13 January 2007), Bangladesh (1 August 2007), Sri Lanka (1 August 2007), Democratic Republic of Korea (24 July 2008), USA (23 July 2009), European Union (12 July 2012), , United Kingdom (12 July 2012), Turkey (23 July 2012), Brazil (17 November 2012), Norway (1 July 2013).
2. สนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone Treaty - SEANWFZ: สนธิสัญญา SEANWFZ เป็นเรื่องของรัฐสมาชิกอาเซียนโดยตรง ประเทศที่ลงนามรับรองและร่วมเป็นภาคีคือรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศเท่านั้น สนธิสัญญา SEANWFZ ลงนามที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 1995 สมัยนายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “Bangkok Treaty” หรือ “สนธิสัญญากรุงเทพฯ” มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 28 มีนาคม 1997
สนธิสัญญา SEANWFZ ฉบับนี้ มีเป้าประสงค์จะให้เอเชียตะวันออกเฉียงทั้งหมดปลอดจากอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธทำลายร้ายแรงทั้งหลาย หากแต่ว่าจะไม่มีทางบรรลุเป้าประสงค์ได้ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือเห็นชอบหรือร่วมลงนามเป็นภาคีด้วยจากประเทศอภิมหาอำนาจผู้มีอาวุธนิวเคลียร์ คือ จีน, สหรัฐฯ, ฝรั่งเสศ, รัสเซีย, และ อังกฤษ ซึ่งทั้งห้าประเทศนี้เป็นภาคีในสนธิสัญญาไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on the Non-Proliferation of Nuclear Weapons - NPT) อีกทั้งยังเป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติด้วย ประเทศมหาอำนาจนิวเคลียร์เหล่านี้ยังไม่มีประเทศใดเลยที่ร่วมลงนามรับรองพิธีสาร (Protocol) ของอาเซียนตาม“สนธิสัญญากรุงเทพฯ” ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศที่บรูไนแถลงเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2013 ว่าสนธิสัญญา SEANWFZ มีความสำคัญยิ่งยวด เพราะทั้งสนธิสัญญานี้และกฎบัตรอาเซียนต้องการให้อาเซียนและทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปลอดจากภัยร้ายแรงจากอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธพลานุภาพทำรายร้ายแรงทั้งมวล (Weapons of Mass Destruction - WMD) แต่อาเซียนมิใช่ฝ่ายที่มีอาวุธนิวเคลียร์จึงไม่สามารถจะสร้างเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ด้วยตนเองได้ อาเซียนจำต้องอาศัยคำมั่นสัญญาจากประเทศผู้มีอาวุธนิวเคลียร์เป็นสำคัญ และเมื่อฝ่ายผู้มีอาวุธนิวเคลียร์ยังไม่สนใจจะร่วมมือด้วยอาเซียนจึงทำได้เพียงตามติดการเจรจากับมหาอำนาจที่เกี่ยวข้องและขอให้เร่งสะสางความขัดข้องต่างๆให้ลุล่วงโดยเร็ว เพื่อการนี้อาเซียนได้จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อทำให้สนธิสัญญากรุงเทพฯ หรือ SEANWFZ มีผลทางปฏิบัติมากกว่าเป็นเพียงแค่เอกสารลายลักษณ์อักษร แผนปฏิบัติที่ว่านี้เรียกว่า Plan of Action to Strengthen the Implementation of SEANWFZ Treaty 2007-2012 และ Plan of Action ฉบับทบทวนแก้ไข (2013-2017) แผนดังกล่าวนี้จะนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติครั้งที่ 68 ในปลายปีนี้ โดยที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนหวังว่าจะผ่านไปได้ด้วยความราบรื่น
ความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ (Nuclear Safety):
เชื่อมโยงกับสนธิสัญญากรุงเทพฯ หรือ SEANWFZ อาเซียนแสดงความห่วงใยเรื่องความปลอดภัยจากนิวเคลียร์ในรูปแบบอื่นด้วย เพื่อความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ในประเด็นอื่นนอกเหนือจากเรื่องอาวุธนิวเคลียร์ อาเซียนมีความร่วมมือระหว่างกันในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและถกเถียงนโยบายนิวเคลียร์กันอย่างโปร่งใส ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับประเด็นนิวเคลียร์ด้านใน จะเป็นด้านสงคราม ซึ่งเป็นเรื่องการเมืองและความมั่นคง หรือด้านพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ซึ่งเป็นเรื่องเศรษฐกิจและวิทยาการ อาเซียนก็ตกลงและย้ำอีกครั้งว่าจะต้องร่วมมือกันอย่างแข็งขันต่อไปให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการเพื่อให้มีการบังคับใช้สนธิสัญญากรุงเทพฯอย่างเข้มแข็งต่อไปข้อมูลจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น